การสร้างแบบทดสอบออนไลน์ด้วยระบบ
KPRU LMS e-Learning

ระบบสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

แจ้งอาจารย์ที่ประสงค์ใช้ระบบสอบออนไลน์ ให้แจ้งนักศึกษาทดลองเข้าใช้งานระบบก่อน
หาก User/Pass มีปัญหาให้ติดต่อฝ่ายงานพัฒนาระบบเครือข่ายและการสื่อสาร

×

จุดเด่นของระบบ


Login ด้วย User/Pass ชุดเดียวกับ Authentication

นำเข้าข้อสอบ (import) แบบปรนัยเป็นชุดข้อสอบได้

สร้างคลังข้อสอบแยกเป็นหมวดหมู่ได้

สุ่มจำนวนข้อสอบจากคลังข้อสอบได้

สลับข้อสอบและตัวเลือกได้

กำหนดไม่ให้สลับตัวเลือกเป็นบางข้อได้

กำหนดวันที่และเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดในการสอบได้

จำกัดเวลาในการสอบแต่ละครั้งได้

ทำข้อสอบต่อเนื่องได้ กรณีขาดการเชื่อมต่อ ภายใต้เวลาที่กำหนด

ข้ามข้อสอบได้และสามารถย้อนกลับมาตอบทีหลังได้

กำหนดคะแนนให้กับแต่ละตัวเลือกได้ เช่น A(100%) B(70%)

กำหนดคะแนนเต็มได้อย่างอิสระ โดยไม่ยึดติดกับจำนวนข้อสอบ

(ปรนัย) ประมวลผลคะแนนสอบทันทีหลังจาก ยืนยัน ส่งคำตอบ

(อัตนัย) กำหนดโจทย์เป็นข้อความ/รูปภาพ/YouTube/แนบไฟล์ได้

(อัตนัย) ส่งคำตอบเป็นข้อความ/รูปภาพ/YouTube/แนบไฟล์ได้

(อัตนัย) ตรวจและให้คะแนนผ่านระบบได้

Export คะแนนสอบเป็น Excel ได้

ลงทะเบียนสอบด้วยตัวนักศึกษาเอง โดยผ่านรหัสลงทะเบียนสอบ

สร้างกลุ่มเพื่อแยกผู้สอบตามหมู่เรียนได้

จำกัดจำนวนผู้ลงทะเบียนสอบได้

อาจารย์สามารถเห็นรายชื่อผู้เข้าสอบออนไลน์ได้

รายงานผลการเข้าข้อสอบได้

ติดตามสถานะการเข้าสอบแบบสดๆ ได้ด้วย Log Live

อื่นๆ สอบได้ที่ 1561 (วันเฉลิม พูนใจสม)

ช่องทางการเข้าถึงระบบ KPRU LMS e-Learning

สามารถเข้าใช้งานระบบ KPRU LMS e-Learning ผ่าน URL โดยตรง

http://lms.kpru.ac.th

สามารถเข้าใช้งานระบบ KPRU LMS e-Learning ผ่านหน้าเว็บเพจบุคลากร ดังรูป

สามารถเข้าใช้งานระบบ KPRU LMS e-Learning ผ่านหน้าเว็บเพจนักศึกษา ดังรูป

ขั้นตอนการบริหารจัดการ (กำลังปรับปรุงข้อมูลให้สมบูรณ์ภายใน 24 มีนาคม 2563)

1

Login เข้าใช้งาน

อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาสามารถ Login เข้าใช้งานระบบ KPRU LMS e-Learning ด้วย Username และ Password ชุดเดียวกันกับการ Authentication และต้องใช้ของตัวเองเท่านั้น หาก User/Pass ท่านใดมีปัญหา ติดต่อฝ่ายงานพัฒนาระบบเครือข่ายและการสื่อสาร

2

การขอสร้างรายวิชา

กรณีต้องการเพิ่มรายวิชาใหม่ อาจารย์ผู้สอนต้องทำการร้องขอสร้างรายวิชาผ่านระบบ KPRU LMS e-Learning โดยระบุข้อมูลให้ถูกต้อง เช่น สังกัดคณะ/สาขา จากนั้น Admin จะทำการตรวจสอบและอนุมัติการสร้างรายวิชา เมื่ออนุมัติแล้วอาจารย์สามารถบริหารจัดการได้ทันที

3

การสร้างแบบทดสอบ (Quiz)

ข้อสอบแบบปรนัยสามารถนำเข้า (Import) ครั้งละจำนวนมาก ขึ้นอยู่กับการเตรียมไฟล์ให้ถูกต้องตามที่ระบบกำหนด ส่วนของข้อสอบอัตนัยประยุกต์โดยใช้ Assignment มาจัดการ โดยเพิ่มได้ครั้งละ 1 ข้อ และสามารถตั้งเวลาในการทำข้อสอบได้เป็นรายข้อ หรือรวมทั้งหมด

4

การตั้งค่าต่างๆ ให้กับ Quiz

แบบทดสอบปรนัย ค่ามาตรฐานได้กำหนดให้สลับตัวเลือก แต่ยังไม่ได้กำหนดให้สลับข้อ

การตั้งค่าให้ข้อสอบปรนัย
- การกำหนดให้สลับข้อของแบบทดสอบปรนัย
- กำหนดไม่ให้สลับตัวเลือกในบางข้อ
- กำหนดคะแนนให้กับแต่ละตัวเลือก
- กำหนดคะแนนเต็มที่ต้องการให้กับข้อสอบปรันัย
5

การจัดการผู้เรียน (Enrol)

ลงทะเบียนผู้สอบด้วยตัวผู้สอบเองผ่านรหัสผ่านการลงทะเบียน จำกัดจำนวนผู้ลงทะเบียนได้ตามที่ต้อการ สร้างกลุ่มเพื่อแยกตามหมู่เรียนเพื่อความสะดวกในการรายงานผล และ Export ต่างๆ สามารถแจ้งให้นักศึกษาลงทะเบียนก่อนถึงวันสอบจริงได้ หากติดปัญหาใดๆ จะได้แก้ไขได้ก่อนสอบ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ณ วันที่สอบจริง | หากพบปัญหาเรื่อง User/Pass ให้ติดต่อที่ 1550

6

การประมวลผล (Export)

การส่งออก (Export) สามารถทำได้หลายอย่าง เช่น ผลคะแนนสอบ ประวัติการเข้าใช้งานได้ รายงานผลแบบรายบุคคล/กลุ่มได้ โดยส่งออกแมาในรูปแบบ Excel สะดวกในการนำไปใช้งาน | เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ส่งออกสะดวกต่อผู้สอน แนะนำให้แจ้งให้นักศึกษาแก้ไขโปรไฟล์ตัวเอง กำหนดให้ First Name=รหัสนักศึกษา Surname=ชื่อ-สกุล